หลักสูตร

วิทย์

เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนบ้านท่าผักชี
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551

วิสัยทัศน์
        โรงเรียนบ้านท่าผักชี   มุ่งมั่นให้นักเรียนเป็นคนดี  มีคุณธรรม  ส่งเสริมความรู้  ทักษะด้าน
การอ่าน   การคิดคำนวณ  มีทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพและใช้เทคโนโลยี  มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง   ตลอดทั้งมีการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม  ประเพณีไทยและสิ่งแวดล้อม  ดำรงชีวิตตามวิถีประชาธิปไตยและอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข  และน้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง

พันธกิจ
        1.  ส่งเสริมให้นักเรียน  ปฏิบัติตนเป็นผู้มีคุณธรรม  จริยธรรม  และนำหลักธรรมทางศาสนา  
มาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน  และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข  
        2. ส่งเสริมให้นักเรียนผู้เรียน มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์  คิดสังเคราะห์ตามหลักสูตรและอ่านเขียนคล่องตามศักยภาพของผู้เรียน
        3.  ส่งเสริมให้นักเรียน มีสุขภาพร่างกาย  จิตใจแข็งแรง
        4.  ส่งเสริมให้นักเรียน สามารถศึกษาค้นคว้ามีทักษะในการใช้สื่อเทคโนโลยีและสารสนเทศ
        5.  ส่งเสริมให้นักเรียน มีทักษะในการประกอบอาชีพตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
        6.  ส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนจงรักภักดีต่อชาติ   ศาสนา  พระมหากษัตริย์ 

เป้าหมาย
        1.  นักเรียน จำนวน  124 คน   ปฏิบัติตนเป็นผู้มีคุณธรรม  จริยธรรม  และนำหลักธรรมทางศาสนา  มาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน  และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข  
        2.  ผู้เรียน จำนวน 105 คน  มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์  คิดสังเคราะห์ตามหลักสูตรและอ่านเขียนคล่องตามศักยภาพของผู้เรียน
        3.  นักเรียน  จำนวน  124 คน   มีสุขภาพร่างกาย  จิตใจแข็งแรง
        4.  นักเรียน จำนวน  85 คน  สามารถศึกษาค้นคว้ามีทักษะในการใช้สื่อเทคโนโลยีและสารสนเทศ
        5.  นักเรียน จำนวน  124 คน   มีทักษะในการประกอบอาชีพตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
        6.  นักเรียนทุกคนจงรักภักดีต่อชาติ   ศาสนา  พระมหากษัตริย์ 

นโยบาย                        
        1.  จัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมแก่นักเรียน
        2.  จัดกิจกรรมส่งเสริมกระบวนการจัดการเรียนการสอนด้านภาษาไทยและคณิตศาสตร์
        3.  จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้และทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพ สอดคล้องกับความ 
ต้องการของท้องถิ่นในระบบสหกรณ์
        4.  จัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนมีความรู้และทักษะพื้นฐานในการใช้เทคโนโลยีติดต่อสื่อสารจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆอย่างหลากหลาย
        5.  ส่งเสริมด้านกีฬา  สุขภาพ  พลานามัยที่แข็งแรง  สมบูรณ์
        6.  ส่งเสริมการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม  ประเพณีไทยและสางแวดล้อม
        7.  ส่งเสริมผลิตผลเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
        8.  จัดกิจกรรมส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย
       9.   ปลูกฝังให้นักเรียนมีความรักชาติ  ศาสนา  และมหากษัตริย์


กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

วิสัยทัศน์
                ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์  คิดสังเคราะห์   เชื่อมโยงความรู้ กับกระบวนการ  ค้นคว้า และสร้างองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ  โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ และแก้ปัญหาตัดสินใจ โดยใช้ข้อมูลที่หลากหลาย และมีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้   ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้และทำกิจกรรมด้วยการลงมือปฏิบัติจริง   ศึกษาค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย  และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

ภารกิจ  
1.  จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์  คิดสังเคราะห์ สร้างองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ
2.  จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์อย่างหลากหลาย
3.  ส่งเสริมกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์ที่นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

เป้าหมาย
1.  ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์  คิดสังเคราะห์ สร้างองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ
2.  ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านวิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับที่น่าพอใจ
3.  ผู้เรียนใช้แหล่งเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ได้อย่างหลากหลาย
4.  ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมทักษะทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ทั้งในและนอกสถานศึกษา
               5.  ผู้เรียนนำทักษะกระบวนการด้านวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน


ทำไมต้องเรียนวิทยาศาสตร์
                วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคต  เพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับทุกคนทั้งในชีวิตประจำวันและการงานอาชีพต่าง ๆ   ตลอดจนเทคโนโลยี  เครื่องมือเครื่องใช้และผลผลิตต่าง ๆ  ที่มนุษย์ได้ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตและการทำงาน เหล่านี้ล้วนเป็นผลของความรู้วิทยาศาสตร์ ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์และศาสตร์อื่น ๆ วิทยาศาสตร์ช่วยให้มนุษย์ได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล  คิดสร้างสรรค์  คิดวิเคราะห์ วิจารณ์   มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าหาความรู้  มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ  สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและมีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้  วิทยาศาสตร์เป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ซึ่งเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (K knowledge-based society) ดังนั้นทุกคนจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น สามารถนำความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุผล สร้างสรรค์ และมีคุณธรรม

เรียนรู้อะไรในวิทยาศาสตร์
                กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มุ่งหวังให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นการเชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการ มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ โดยใช้กระบวนการในการสืบเสาะหาความรู้ และการแก้ปัญหาที่หลากหลาย   ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ทุกขั้นตอน มีการทำกิจกรรมด้วยการลงมือปฏิบัติจริงอย่างหลากหลาย เหมาะสมกับระดับชั้น โดยได้กำหนดสาระสำคัญไว้ดังนี้
·       สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต   สิ่งมีชีวิต หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต โครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต และกระบวนการดำรงชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม การทำงานของระบบต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต วิวัฒนาการและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต และเทคโนโลยีชีวภาพ
·       ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม   สิ่งมีชีวิตที่หลากหลายรอบตัว ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ ความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้และจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลก ปัจจัยที่มีผลต่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ

·       สารและสมบัติของสาร   สมบัติของวัสดุและสาร แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค การเปลี่ยนสถานะ การเกิดสารละลายและการเกิดปฏิกิริยาเคมีของสาร  สมการเคมี  และการแยกสาร   
·       แรงและการเคลื่อนที่   ธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง แรงนิวเคลียร์ การออกแรงกระทำต่อวัตถุ การเคลื่อนที่ของวัตถุ แรงเสียดทาน โมเมนต์การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
·       พลังงาน   พลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน สมบัติและปรากฏการณ์ของแสง เสียง และวงจรไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า กัมมันตภาพรังสีและปฏิกิริยานิวเคลียร์ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงานการอนุรักษ์พลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
·       กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก   โครงสร้างและองค์ประกอบของโลก ทรัพยากรทางธรณี สมบัติทางกายภาพของดิน หิน น้ำ อากาศ สมบัติของผิวโลก และบรรยากาศ กระบวนการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ปรากฏการณ์ทางธรณี ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศ
·       ดาราศาสตร์และอวกาศ   วิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซี เอกภพ ปฏิสัมพันธ์และผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก ความสัมพันธ์ของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก ความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศ
·       ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา และจิตวิทยาศาสตร์

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่  1   สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว  1. 1               เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของ
                 ระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 
                    สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแล
                    สิ่งมีชีวิต
                                    มาตรฐาน ว  1.1     เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
                                                                        วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพ
                                                                        ที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และ
                                จิตวิทยาศาสตร์ สื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 2   ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
                                    มาตรฐาน ว 2. 1     เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น   ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต  
                                        ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะ        
                                        หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
                                    มาตรฐาน ว 2.2      เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับ
                                                                        ท้องถิ่น ประเทศ และโลกนำความรู้ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
                                                                        และสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
สาระที่ 3   สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3.1   เข้าใจสมบัติของสาร   ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและ
แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค  มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยา     ศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 3.2     เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร   การเกิด
   สารละลาย   การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์     
   สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 4   แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว 4. 1   เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์                    
   มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้
   ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม  
มาตรฐาน ว 4.2      เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติมีกระบวนการ           
                                                                   สืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์   สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้
                                                                   ประโยชน์
สาระที่ 5   พลังงาน
มาตรฐาน ว 5. 1   เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน
  ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน  ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและ 
  สิ่งแวดล้อม   มีกระบวน การสืบเสาะหาความรู้  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และ                 
  นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 6    กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6. 1   เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ   ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของ
                                  กระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐาน
                                 ของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้
                                 และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 7   ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน ว 7. 1  เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซีและเอกภพการปฏิสัมพันธ์ภายใน
                                  ระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และ
  จิตวิทยาศาสตร์  การสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 7.2  เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศและ
                                 ทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร  มีกระบวนการสืบเสาะหา
                                 ความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่าง
                                  มีคุณธรรมต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
สาระที่ 8    ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 8. 1  ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้
                                 การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่
แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ใน
                ช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม
  มีความ
                 เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
คุณภาพผู้เรียน
จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
·       เข้าใจลักษณะทั่วไปของสิ่งมีชีวิต และการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตที่หลากหลายในสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น
·       เข้าใจลักษณะที่ปรากฏและการเปลี่ยนแปลงของวัสดุรอบตัว  แรงในธรรมชาติ รูปของพลังงาน
·       เข้าใจสมบัติทางกายภาพของดิน หิน น้ำ อากาศ ดวงอาทิตย์ และดวงดาว
·       ตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต วัสดุและสิ่งของ และปรากฏการณ์ต่างๆ รอบตัว สังเกต สำรวจตรวจสอบโดยใช้เครื่องมืออย่างง่าย และสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ด้วยการเล่าเรื่อง เขียน หรือวาดภาพ
·       ใช้ความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ในการดำรงชีวิต การศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ทำโครงงานหรือชิ้นงานตามที่กำหนดให้ หรือตามความสนใจ
·       แสดงความกระตือรือร้น  สนใจที่จะเรียนรู้  และแสดงความซาบซึ้งต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัว แสดงถึงความมีเมตตา ความระมัดระวังต่อสิ่งมีชีวิตอื่น
·       ทำงานที่ได้รับมอบหมายด้วยความมุ่งมั่น รอบคอบ ประหยัด ซื่อสัตย์ จนเป็นผลสำเร็จ และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

จบชั้นประถมศึกษาปีที่  6
·       เข้าใจโครงสร้างและการทำงานของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต  และความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่หลากหลายในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน
·       เข้าใจสมบัติและการจำแนกกลุ่มของวัสดุ  สถานะของสาร  สมบัติของสารและการทำให้สารเกิดการเปลี่ยนแปลง  สารในชีวิตประจำวัน การแยกสารอย่างง่าย
·       เข้าใจผลที่เกิดจากการออกแรงกระทำกับวัตถุ ความดัน หลักการเบื้องต้นของแรงลอยตัว สมบัติและปรากฏการณ์เบื้องต้นของแสง เสียง และวงจรไฟฟ้า
·       เข้าใจลักษณะ องค์ประกอบ สมบัติของผิวโลก และบรรยากาศ ความสัมพันธ์ของดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ที่มีผลต่อการเกิดปรากฎการณ์ธรรมชาติ
·       ตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่จะเรียนรู้ คาดคะเนคำตอบหลายแนวทาง วางแผนและสำรวจตรวจสอบโดยใช้เครื่องมื  
·       ตั้งคำถามที่มีการกำหนดและควบคุมตัวแปร คิดคาดคะเนคำตอบหลายแนวทาง วางแผนและลงมือสำรวจตรวจสอบ วิเคราะห์และประเมินความสอดคล้องของข้อมูล และสร้างองค์ความรู้
·       สื่อสารความคิด ความรู้จากผลการสำรวจตรวจสอบโดยการพูด เขียน จัดแสดง หรือใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
·       ใช้ความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการดำรงชีวิต การศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ทำโครงงานหรือสร้างชิ้นงานตามความสนใจ
·       แสดงถึงความสนใจ มุ่งมั่น รับผิดชอบ รอบคอบ และซื่อสัตย์ในการสืบเสาะหาความรู้โดยใช้ เครื่องมือและวิธีการที่ให้ได้ผลถูกต้องเชื่อถือได้
·       ตระหนักในคุณค่าของความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ใช้ในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ แสดงความชื่นชม ยกย่องและเคารพสิทธิในผลงานของผู้คิดค้น
·       แสดงถึงความซาบซึ้ง ห่วงใย มีพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้และรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างรู้คุณค่า มีส่วนร่วมในการพิทักษ์ ดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น
·       ทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ แสดงความคิดเห็นของตนเองและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
·       เข้าใจการรักษาดุลยภาพของเซลล์และกลไกการรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต
·       เข้าใจกระบวนการถ่ายทอดสารพันธุกรรม การแปรผัน มิวเทชัน วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตและปัจจัยที่มีผลต่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตในสิ่งแวดล้อมต่างๆ
·       เข้าใจกระบวนการ ความสำคัญและผลของเทคโนโลยีชีวภาพต่อมนุษย์ สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
·       เข้าใจชนิดของอนุภาคสำคัญที่เป็นส่วนประกอบในโครงสร้างอะตอม  การจัดเรียงธาตุในตารางธาตุ  การเกิดปฏิกิริยาเคมีและเขียนสมการเคมี  ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
·       เข้าใจชนิดของแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคและสมบัติต่างๆ ของสารที่มีความสัมพันธ์กับแรงยึดเหนี่ยว
·       เข้าใจการเกิดปิโตรเลียม การแยกแก๊สธรรมชาติและการกลั่นลำดับส่วนน้ำมันดิบ การนำผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมไปใช้ประโยชน์และผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
·       เข้าใจชนิด สมบัติ ปฏิกิริยาที่สำคัญของพอลิเมอร์และสารชีวโมเลกุล
·       เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่แบบต่างๆ สมบัติของคลื่นกล คุณภาพของเสียงและการได้ยิน สมบัติ ประโยชน์และโทษของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า กัมมันตภาพรังสีและพลังงานนิวเคลียร์
·       เข้าใจกระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลกและปรากฏการณ์ทางธรณีที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
·       เข้าใจการเกิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซี เอกภพและความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศ
·       เข้าใจความสัมพันธ์ของความรู้วิทยาศาสตร์ที่มีผลต่อการพัฒนาเทคโนโลยีประเภทต่างๆ และการพัฒนาเทคโนโลยีที่ส่งผลให้มีการคิดค้นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ก้าวหน้า ผลของเทคโนโลยีต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม
·       ระบุปัญหา ตั้งคำถามที่จะสำรวจตรวจสอบ โดยมีการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ สืบค้นข้อมูลจากหลายแหล่ง ตั้งสมมติฐานที่เป็นไปได้หลายแนวทาง ตัดสินใจเลือกตรวจสอบสมมติฐานที่เป็นไปได้
·       วางแผนการสำรวจตรวจสอบเพื่อแก้ปัญหาหรือตอบคำถาม วิเคราะห์ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ โดยใช้สมการทางคณิตศาสตร์หรือสร้างแบบจำลองจากผลหรือความรู้ที่ได้รับจากการสำรวจตรวจสอบ
·       สื่อสารความคิด ความรู้จากผลการสำรวจตรวจสอบโดยการพูด เขียน จัดแสดง หรือใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
·       ใช้ความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการดำรงชีวิต การศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ทำโครงงานหรือสร้างชิ้นงานตามความสนใจ
·       แสดงถึงความสนใจ มุ่งมั่น รับผิดชอบ รอบคอบและซื่อสัตย์ในการสืบเสาะหาความรู้ โดยใช้เครื่องมือและวิธีการที่ให้ได้ผลถูกต้องเชื่อถือได้
·       ตระหนักในคุณค่าของความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพ แสดงถึงความชื่นชม ภูมิใจ ยกย่อง อ้างอิงผลงาน ชิ้นงานที่เป็นผลจากภูมิปัญญาท้องถิ่นและการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัย
·        แสดงความซาบซึ้ง ห่วงใย มีพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้และรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างรู้คุณค่า เสนอตัวเองร่วมมือปฏิบัติกับชุมชนในการป้องกัน ดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น
·       แสดงถึงความพอใจ และเห็นคุณค่าในการค้นพบความรู้ พบคำตอบ หรือแก้ปัญหาได้
·       ทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ แสดงความคิดเห็นโดยมีข้อมูลอ้างอิงและเหตุผลประกอบ เกี่ยวกับผลของการพัฒนาและการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมีคุณธรรมต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
                โรงเรียนบ้านท่าผักชี  มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะสำคัญ  5  ประการ  โดยมีตัวชี้วัด
ในการนำไปปฎิบัติ  แต่ละประการดังนี้
1.              ความสามารถในการสื่อสาร
ตัวชี้วัด                         
1.1   มีความสามารถในการสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ
1.2   ถ่ายทอดความรู้ ความคิด  ความเข้าใจของตนเอง  โดยใช้วิธีการและภาษาอย่างเหมาะสม
2.              ความสามารถในการคิด
ตัวชี้วัด                       
2.1        มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 
2.2        มีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ 
3.              ความสามารถในการแก้ปัญหา
ตัวชี้วัด           
3.1   แก้ปัญหาโดยใช้เหตุผล
3.2   แสวงหาความรู้มาใช้ในการแก้ปัญหา
3.3   ตัดสินใจโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
4.              ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
ตัวชี้วัด                        
4.1   ทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความสัมพันธ์อันดี
4.2   มีวิธีแก้ไขความขัดแย้งอย่างเหมาะสม

1.              ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
ตัวชี้วัด       
5.1  เลือกใช้ข้อมูลในการพัฒนาตนเองอย่างเหมาะสม
5.2  เลือกใช้ข้อมูลในการทำงานได้อย่างเหมาะสม

คุณลักษณะอันพึงประสงค์
                โรงเรียนบ้านท่าผักชี    มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์  8  ประการ                     โดยแต่ละประการมีตัวชี้วัด  ดังนี้
 1.  รักชาติ  ศาสน์  กษัตริย์
       ตัวชี้วัด                          
      1.1  ธำรงไว้ซึ่งความเป็นชาติไทย
      1.2  ศรัทธา ยึดมั่นและปฏิบัติตนตามหลักศาสนา
      1.3  เคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
2.  ซื่อสัตย์สุจริต
      ตัวชี้วัด                           
     2.1  มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น
3.  มีวินัย
     ตัวชี้วัด                            
    3.1  ปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับของครอบครัว โรงเรียน และสังคม
4.  ใฝ่เรียนรู้
     ตัวชี้วัด                            
    4.1  ตั้งใจ  เพียรพยายามในการเรียนและเข้าร่วมกิจกรรม
    4.2  แสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ด้วยการเลือกใช้สื่อ
           อย่างเหมาะสม สรุปเป็นองค์ความรู้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
5.  อยู่อย่างพอเพียง
      ตัวชี้วัด                           
     5.1  ดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ  มีเหตุผล  และมีภูมิคุ้มกัน
6.  มุ่งมั่นในการทำงาน
     ตัวชี้วัด                            
    6.1  ตั้งใจและรับผิดชอบในหน้าที่การงาน
    6.2  ทำงานด้วยความเพียรพยายาม และอดทนเพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย
7. รักความเป็นไทย
     ตัวชี้วัด                            
    7.1   ภาคภูมิใจในขนบธรรมเนียมประเพณี  ศิลปะ วัฒนธรรมไทย และมีความกตัญญูกตเวที
            รวมทั้งอนุรักษ์ และสืบทอดภูมิปัญญาไทย
     7.2  เห็นคุณค่าและใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
8.  มีจิตสาธารณะ
      ตัวชี้วัด                           
     8.1  ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจโดยไม่หวังผลตอบแทน
    8.2  เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชน และสังคม
·       ใช้ความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการดำรงชีวิต และการศึกษาความรู้เพิ่มเติม ทำโครงงานหรือชิ้นงานตามที่กำหนดให้หรือตามความสนใจ
·       แสดงถึงความสนใจ มุ่งมั่น รับผิดชอบ รอบคอบและซื่อสัตย์ในการสืบเสาะหาความรู้
·       ตระหนักในคุณค่าของความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แสดงความชื่นชม ยกย่อง และเคารพสิทธิในผลงานของผู้คิดค้น
·       แสดงถึงความซาบซึ้ง ห่วงใย แสดงพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้การดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างรู้คุณค่า
·       ทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ แสดงความคิดเห็นของตนเองและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
·       เข้าใจลักษณะและองค์ประกอบที่สำคัญของเซลล์สิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของการทำงานของระบบต่างๆ  การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม  เทคโนโลยีชีวภาพ  ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต พฤติกรรมและการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสิ่งมีชีวิต  ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในสิ่งแวดล้อม
·       เข้าใจองค์ประกอบและสมบัติของสารละลาย สารบริสุทธิ์  การเปลี่ยนแปลงของสารในรูปแบบของการเปลี่ยนสถานะ การเกิดสารละลายและการเกิดปฏิกิริยาเคมี
·       เข้าใจแรงเสียดทาน โมเมนต์ของแรง การเคลื่อนที่แบบต่างๆ ในชีวิตประจำวัน กฎการอนุรักษ์พลังงาน การถ่ายโอนพลังงาน สมดุลความร้อน การสะท้อน การหักเหและความเข้มของแสง
·       เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณทางไฟฟ้า หลักการต่อวงจรไฟฟ้าในบ้าน พลังงานไฟฟ้าและหลักการเบื้องต้นของวงจรอิเล็กทรอนิกส์
·       เข้าใจกระบวนการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก แหล่งทรัพยากรธรณี ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศ ปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะ และผลที่มีต่อสิ่งต่างๆ บนโลก ความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศ
เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี การพัฒนาและผลของการพัฒนาเทคโนโลยีต่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมอ อุปกรณ์ วิเคราะห์ข้อมูล และสื่อสารความรู้จากผลการสำรวจตรวจสอบ
·       ใช้ความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการดำรงชีวิต และการศึกษาความรู้เพิ่มเติม ทำโครงงานหรือชิ้นงานตามที่กำหนดให้หรือตามความสนใจ
·       แสดงถึงความสนใจ มุ่งมั่น รับผิดชอบ รอบคอบและซื่อสัตย์ในการสืบเสาะหาความรู้
·       ตระหนักในคุณค่าของความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แสดงความชื่นชม ยกย่อง และเคารพสิทธิในผลงานของผู้คิดค้น
·       แสดงถึงความซาบซึ้ง ห่วงใย แสดงพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้การดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างรู้คุณค่า
·       ทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ แสดงความคิดเห็นของตนเองและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
·       เข้าใจลักษณะและองค์ประกอบที่สำคัญของเซลล์สิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของการทำงานของระบบต่างๆ  การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม  เทคโนโลยีชีวภาพ  ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต พฤติกรรมและการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสิ่งมีชีวิต  ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในสิ่งแวดล้อม
·       เข้าใจองค์ประกอบและสมบัติของสารละลาย สารบริสุทธิ์  การเปลี่ยนแปลงของสารในรูปแบบของการเปลี่ยนสถานะ การเกิดสารละลายและการเกิดปฏิกิริยาเคมี
·       เข้าใจแรงเสียดทาน โมเมนต์ของแรง การเคลื่อนที่แบบต่างๆ ในชีวิตประจำวัน กฎการอนุรักษ์พลังงาน การถ่ายโอนพลังงาน สมดุลความร้อน การสะท้อน การหักเหและความเข้มของแสง
·       เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณทางไฟฟ้า หลักการต่อวงจรไฟฟ้าในบ้าน พลังงานไฟฟ้าและหลักการเบื้องต้นของวงจรอิเล็กทรอนิกส์
·       เข้าใจกระบวนการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก แหล่งทรัพยากรธรณี ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศ ปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะ และผลที่มีต่อสิ่งต่างๆ บนโลก ความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศ
เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี การพัฒนาและผลของการพัฒนาเทคโนโลยีต่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม